หักลบกลบหนี้ คือ การที่คนสองคนต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน และหนี้นั้นเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแล้ว และคนใดคนหนึ่งแสดงเจตนาต่ออีกคนหนึ่งขอหักกลบลบหนี้เพื่อจะได้พ้นจากหนี้ของตน เช่น ดำเป็นหนี้แดงอยู่ 20 บาท และแดงก็เป็นหนี้ดำอยู่ 15 บาท ทั้งสองคนจึงตกลงหักกลบลบหนี้กัน ดังนั้น ดำยังคงต้องใช้หนี้แดงอีกเพียง 5 บาท
ตัวอย่าง เช่น
คำว่าจรรยาบรรณ
นิยาม สิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามถ้าไม่ปฏิบัติผิดจรรยาบรรณ
บอกที่มา เช่น ชื่อผู้แต่ง. (พ.ศ.).
ชื่อหนังสือ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.
นายก.(2543).กฎหมายการศึกษา.กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช.
กรณีอ้างอิงจากWebsite ตัวอย่างให้เขียนที่มาดังนี้
อภิชาติ วัชรพันธุ์. (2555). การจัดการความรู้ (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://apichatpan.blogspot.com
[5 พฤศจิกายน 2555].
ความยุติธรรม
ความยุติธรรม หมายถึง มีความเที่ยงธรรม เสมอภาคในคนทุกประเภท ไม่แบ่งแยกพวกเขาพวกเรา ไม่มีอคติ คือ ความลำเอียง
สิทธิ
สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งบุคคลทุกคนพึงมีพึงได้ โดยไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น
นายหยุด แสงอุทัย.(2514).ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์.
ฟ้องร้อง
ฟ้องร้อง คือ กล่าวหาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยมีคำขอให้ศาลพิจารณาพิพากษา
กฎหมายตามเนื้อความ
กฎหมายตามเนื้อความ หมายถึง กฎหมายซึ่งบทบัญญัติมีลักษณะเป็นกฎหมายแท้ คือ “ กฎหมายตามเนื้อความ” ได้แก่ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ
คำกล่าวโทษ
คำกล่าวโทษ คือ การที่บุคคลซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ได้เป็นผู้กล่าวหรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นโดยจะรู้ตัวผู้กระทำผิดหรือไม่รู้ก็ตาม
ผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้แทนโดยชอบธรรม คือ บุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้งจากศาลให้มีสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำการแทนบุคคลไร้ความสามารถ หรือพูดอีกอย่างก็หมายถึง เป็นบุคคลที่จะต้องเป็นผู้ให้คำอนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่บุคคลไร้ความสามารถในอันที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด
แจ้งความเท็จ
แจ้งความเท็จ คือ การนำเอาข้อเท็จจริงมาแจ้งต่อเจ้าพนักงาน โดยอาจแจ้งความด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ตาม ไม่ว่าการแจ้งนั้นจะมาแจ้งโดยตรงหรือแจ้งโดยการตอบคำถามของเจ้าพนักงาน ทั้งนี้ ผู้แจ้งจะต้องรู้ว่าข้อความที่ตนแจ้งนั้นเป็นเท็จ ถ้าผู้แจ้งไม่รู้ว่าข้อความนั้นเป็นเท็จก็ไม่มีความผิด
โมฆะกรรม
โมฆะกรรม คือ การกระทำที่สูญเปล่า ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการทำนิติกรรมต่างๆ นิติกรรมที่ทำนั้นเสียเปล่าไม่เกิดผลในทางกฎหมาย เท่ากับว่านิติกรรมนั้นไม่ได้ทำขึ้นมาเลย ใครเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมกล่าวอ้างการเป็นโมฆะกรรมได้เสมอ เช่น นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย เช่น ทำสัญญาจ้างฆ่าคน , ทำสัญญาจ้างให้เหาะให้ดู ฯลฯ
โมฆะยกรรม
โมฆะยกรรม คือ การทำนิติกรรมที่สมบูรณ์ซึ่งมีผลบังคับได้ตามกฎหมายจนกว่าจะถูกบอกล้าง เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยมีเหตุบกพร่องบางอย่างในเรื่องความสามารถ หรือในเรื่องการแสดงเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เหตุบกพร่องไม่ได้ทำให้นิติกรรมสูญเปล่า นิติกรรมนั้นคงใช้ได้ตามกฎหมายตลอดไปจนกว่าจะมีการบอกล้าง เมื่อบอกล้างแล้วจึงถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ เสียเปล่ามาตั้งแต่แรก แต่ถ้าไม่ได้มีการบอกล้างจนล่วงเลยกำหนดตามกฎหมาย หรือมีการให้สัตยาบันรับรู้ในนิติกรรมนั้น นิติกรรมนั้นก็เป็นอันสมบูรณ์
นิติกรรมอำพราง
นิติกรรมอำพราง คือ การทำนิติกรรมขึ้นสองอย่าง อย่างหนึ่งทำขึ้นโดยมีเจตนาเพียงเพื่อปกปิดหรืออำพรางนิติกรรมอีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่ต้องการให้เป็นที่เปิดเผย ผลในทางกฎหมาย นิติกรรมอย่างแรกจะเป็นโมฆะ เพราะเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างคู่กรณี ส่วนนิติกรรมอย่างหลังที่ถูกอำพรางไว้จะมีผลในทางกฎหมาย
ความผิดหลายบท
ความผิดหลายบท คือ การกระทำที่เป็นกรรมเดียวแต่เป็นความผิดตามกฎหมายหลายบท ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามกฎหมายบทที่หนักที่สุด เช่น เอาหินขว้างใส่บ้านจนกระจกแตก และหินไปโดนคนในบ้านกะโหลกแตกตายอีกด้วย เป็นการทำผิดกฎหมายสองบทคือ เจตนาทำให้เสียทรัพย์ และฆ่าคนตาย เช่นนี้ผู้กระทำต้องรับโทษฐานฆ่าคนตาย ซึ่งมีโทษหนักกว่า
http://blog.eduzones.com/cazii/82767 ( 7 พฤศจิกายน 2555)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น