วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

สอบปลายภาค



ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)

1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด  พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ
- คำว่า รัฐธรรมนูญประกอบด้วยคำว่า รัฐหมายถึงบ้านเมืองหรือแผ่นดินกับคำว่า ธรรมนูญหมายถึงกฎหมายว่าด้วยระเบียบการ  รัฐธรรมนูญ จึงหมายถึงกฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองแผ่นดินหรือรัฐ  
- พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของ รัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ
- พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ซึ่งเมื่อตราขึ้นแล้วจะต้องเสนอต่อรัฐสภาเพื่ออนุมัติ ถ้าสภาไม่อนุมัติ พระราชกำหนดนั้นก็ตกไป แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ได้ปฏิบัติไปตามพระราชกำหนดนั้นแล้ว แต่ถ้ารัฐสภาอนุมัติ พระราชกำหนดนั้นก็มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติต่อไป 
- พระรากฤษฎีกา เป็นอนุบัญญัติ เป็นกฎหมายรองจากพระราชบัญญัติและพระราชกำหนด ซึ่งพระรมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกานั้นต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด
- เทศบัญญัติ คือ บทกฎหมายที่เทศบาลตราขึ้น เพื่อใช้บังคับภายในเขตเทศบาลนั้น
 
2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร  ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร  หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
- รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา
- การกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึง  วัตถุประสงค์และเป้าหมายของภารกิจ  ผู้ทำภารกิจ  ความจำเป็นในการตรากฎหมาย  ความซ้ำซ้อนของกฎหมาย  ภาระต่อบุคคลและความคุ้มค่า  ความพร้อมของรัฐ  หน่วยงานที่รับผิดชอบ  วิธีการทำงานและการตรวจสอบ  อำนาจในการตราอนุบัญญัติ  การรับฟังความคิดเห็น  โดยคำนึงถึงสภาพข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ไม่เป็นการล่วงล้ำเกินสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยไม่สมควรจึงเป็นสิ่งที่ไม่ไกลเกินความเป็นจริง
- หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญ  เมื่อไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว จะเป็นไปได้จริงหรือไม่ว่าบ้านเมืองจะเข้าสู่ยุคที่มีแต่รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม ที่มีการเสนอกันมาโดยตลอด ว่าสถาบันบางสถาบันอาจจะมีอำนาจมากกว่าที่เขียนไว้ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมตามที่นักวิชาการเสนอนั้นก็ดูไม่ให้ความสำคัญกับพลังของประชาชน และค่อนข้างไม่สามารถอธิบายได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมนั้นเปลี่ยนแปลง – สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร

3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
- มาตรา 112 ว่าด้วยเรื่อง องค์พระมหากษัตรย์ทรงอยู่ในฐานะที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้  ผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องในทางใดๆมิได้  ในความเห็นของข้าพเจ้าไม่ควรแก้เพราะว่าเป็นกฎหมายที่ป้องกันพระมหากษัตรย์  ถ้าแก้ไขก็เท่ากับพังบ้านของตัวเอง  การอยู่รอดปลอดภัย  ได้เรียกตัวเองว่าเป็นคนไทยได้เพราะพระมหากษัตริย์ที่ปกป้องบ้านเมืองมาให้อยู่ได้ตั้งหลายร้อยปี

4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
- ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ กำลังดำเนินอยู่นั้น ไม่ได้ส่งผลแค่ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลกระทบต่อความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความคลั่งชาติของกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยที่ปรากฏให้เห็นในสาธารณะ นั้นรุนแรง เพราะในกรณีของไทยกับกัมพูชานั้น ทั้งสองเป็นสมาชิกของอาเซียน และโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
- วิธีการแก้ไข  รัฐบาลจะต้องพยายามหาช่องว่างทางกฎหมายให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเฉพาะการพิจารณาว่าเรื่องนี้ไม่ได้ผ่านกระบวนการให้ความเห็นชอบของรัฐสภาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ก็จะทำให้มีข้ออ้างในการไม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้

5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล

- เห็นด้วย กับ พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ”  เพราะในรัฐธรรมนูญก็ได้มีสาระสำคัญของการศึกษาเขียนไว้ และพระราชบัญญัติการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่างขึ้นมาโดยใช้รัฐธรรมนูญการศึกษา เป็นหัวใจสำคัญและเป็นแนวทางในการร่างและเขียนพระราชบัญญัติการศึกษา ขึ้นมา เพื่อนำมาประกาศใช้และใช้เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนให้มีการศึกษาทุกคนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ตามจุดมุ่งหมายของการพัฒนาศักยภาพคนไทย

6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย  การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา  ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา  สถานศึกษา
            - การศึกษา คือ วิธีการซึ่งส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
- การศึกษาขั้นพื้นฐาน  คือ การศึกษาที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่แข็งแรงมั่นคง เพียงพอ กับการ ดำรงชีวิตให้ดีได้ในวันข้างหน้า
- การศึกษาตลอดชีวิต  หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
- การศึกษาในระบบ คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
- การศึกษานอกระบบ หมายถึง การศึกษาซึ่งจัดขึ้นนอกระบบปกติ ที่จัดให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ไม่มีการจำกัดพื้นฐานการศึกษาอาชีพประสบการณ์หรือความสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในด้านพื้นฐานแก่การดำรง ชีวิต ความรู้ทางด้านทักษะ การประกอบอาชีพและความรู้ด้านอื่น ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การจัดการศึกษามีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเงื่อนไข การสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตร จะต้องมีตามเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
- การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต
- สถานศึกษา หมายถึง หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ
- สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง สถานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เป็นหลัก ในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
- การประกันคุณภาพภายใน  หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล สถานศึกษานั้น
- การประกันคุณภาพภายนอก  หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
- ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
- ครู  หมายถึง  บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน
- คณาจารย์ หมายถึง บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ของรัฐและเอกชน
- ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบ การบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
- บุคลากรทางการศึกษา  หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน การสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ

7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
- ความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา  จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาตามมาตรานี้เป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายทั่วไปที่เป็นอุดมการณ์ของการศึกษา หรือปรัชญาการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติต่างๆ ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมและเนื่องจากจุดเน้นในส่วนนี้อาจจะทำให้เกิดการแปลความไปได้ว่ามุ่งพัฒนา "ปัจเจกบุคคล" เพียงด้านเดียว ฉะนั้นจึงได้กำหนดต่อไปว่า การพัฒนาดังกล่าวนั้นมุ่งให้คนไทย "มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" การเพิ่มมิติด้านสังคมนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างส่วนบุคคลและส่วนรวม
 หลักการสำคัญของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ 3 ข้อ ซึ่งจำเป็น
ต้องขอขยายความดังนี้
          1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน หลักการนี้มีความเป็นมาสืบเนื่องจากการจัดประชุมระดับโลกขององค์การยูเนสโก ธนาคารโลก และองค์การยูนิเซฟร่วมกับรัฐบาลไทย ที่หาดจอมเทียน เมื่อ พ.ศ.2532  คำประกาศ
จอมเทียน ซึ่งดังกึกก้องไปทั่วโลกคือคำว่า "การศึกษาเพื่อปวงชน" และ "ปวงชนเพื่อการศึกษา" โดยคำว่า ปวงชน หมายถึง ประชาชนทั้งหมดในประเทศ แต่การที่จะเขียนในเชิงสำนวนเช่นนั้น อาจไม่เหมาะกับภาษาเชิงกฎหมาย จึงต้องปรับภาษาให้ง่ายต่อการแปลความตามกฎหมาย
          2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหลักประการที่ 2 นี้ ก็คือหลัก "All for Education" ดังที่กล่าวมาแล้ว แนวทางปฏิรูปของพระราชบัญญัติฉบับนี้ นอกจากนำเอามาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญมาพิจารณาแล้วยังกำหนดสิทธิของประชาชนที่จะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและยังวางเงื่อนไขให้องค์กรชุมชน องค์กรต่างๆ ในสังคมได้มีส่วนร่วมในการจัด ตลอดจนกำหนดแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของการสื่อสารเพื่อการศึกษา เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
          3. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องหลักประการที่ 2 นี้ ต้องการจะพูดถึงคุณภาพของการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอีกประการหนึ่งของการปฏิรูป หลักการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาคุณภาพการศึกษาไทยจะล้าหลังประเทศอื่นก็เพราะเราไม่จัดระบบของเราให้เกิดการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร

- หากบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากครูคนนั้นเป็นครูอัตราจ้าง หากพิจารณาตามกฎหมาย จะไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าหากจะสอนและสอบบรรจุ เพื่อสอนประจำในโรงเรียนนั้น ครูคนนี้จะผิดกฎหมายทันที่ เพราะครูที่จะสอบบรรจุนั้นต้องมีใบประกอบวิชาชีพครูก่อน จึงจำเป็นจะต้องสอบขอใบประกอบวิชาชีพครูก่อน แล้วจึงมาสอบบรรจุเป็นครูประจำโรงเรียนนั้นได้

9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
 1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2547
             2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
             3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบวิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
             4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช

10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง  ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม  และเป็นไปได้อย่างไร  วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร

             - วิชานี้ได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีควบคู่กับการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย  มีการแลกเปลี่ยนความรู้กันผ่านทางโลกอินเทอร์เน็ตของเว็บบล็อก  ทำให้สื่อสารกันง่ายขึ้น  และค่อนข้างมีประโยชน์มากเนื่องจากง่ายต่อการค้นคว้า ศึกษาข้อมูลในการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นการเรียนการสอนที่ดีเพราะนอกเหนือจากที่อาจารย์ได้สอนในคาบเรียนแล้วนักศึกษาสามารถที่จะหาความรู้เพิ่มเติมจากเว็บไซต์อื่นได้ และข้อมูลที่บันทึกใน weblog ก็ยังคงอยู่ตลอดและยังนำไปใช้ได้ตลอดเวลาเมื่อเราต้องการโดยที่จะไม่หายและ มีประโยชน์มากกว่าที่ต้องไปทำลงในกระดาษเพราะอาจจะสูญหายได้ถ้าเก็บไว้ไม่ดีและในการเรียนวิชาก็ยังมีความรู้เกี่ยวกับการใช้  weblog  ถ้าให้น้ำหนักวิชานี้จะให้เกรด A เพราะวิชานี้ไม่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาของกฎหมายการศึกษาเท่านั้นแต่ยังให้นักศึกษารู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์นอกเหนือจากในคาบเรียนเพราะนักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากที่อาจารย์ได้ให้ข้อมูลมาด้วยและอีกยังนักศึกษารู้จักใช้เทคโนโลยีมาประกอบใช้ในการเรียนการด้วย และวิชานี้ดิฉันก็คิดว่าตัวเองนั้นอยากได้เกรด A เพราะดิฉันปราถนาที่อยากได้เกรดดีๆเพราะวิชานี้ดิฉันได้ทำอย่างเต็มที่แล้ว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น