1. พรบ.สภาครูฯ
2546 ประกาศใช้และบังคับเมื่อใด
- พรบ.สภาครูฯ
2546
ประกาศใช้วันที่
11
มิถุนายน
2546
และบังคับใช้วันที่ 12 มิถุนายน
2546
2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่
ครู
ผู้บริหารการศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษา
บุคลากรทางการศึกษาอื่น
3. คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง
- คุรุสภามีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
3 ข้อ
คือ
กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ
ออกและเพิกถอนใบอนุญาต
กำหนดนโยบาย
ประสานส่งเสริมการศึกษาวิจัย
4. อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง
- อำนาจหน้าที่คุรุสภามี
15 ข้อ
คือ
ออก
พัก
เพิกถอนใบอนุญาต
รับรองปริญญา
วุฒิบัตร
ความรู้ประสบการณ์
ออกข้อบังคับคุรุสภา ให้คำปรึกษา เสนอแนะ
ครม.เกี่ยวกับนโยบายหรือการพัฒนาวิชาชีพ
5. คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด
- คุรุสภาอาจมีรายได้
5 รายการ
คือ
ค่าธรรมเนียม
เงินอุดหนุน ผลประโยชน์จากทรัพย์สิน มีผู้อุทิศให้ ดอกผล
6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน
- คณะกรรมการคุรุสภามี
39
คน
ประธานมาจาก
ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา
มนุษยศาสตร์
สังคมศาสตร์
กฎหมาย
7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้องประกอบด้วย
- กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้องมีใบอนุญาตและไม่เคยถูกพักใช้
ปฏิบัติการสอนมาไม่น้อยกว่า
10
ปี
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะชำนาญการ
8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่
อะไร
ได้แก่
- คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่
6
ข้อ
สำคัญ
คือ
พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน
ประธานคือใคร
หน้าที่สำคัญ
- คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมี
17 คน ประธาน คือ
รมต.แต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา
หน้าที่สำคัญพิจารณาการออกใบอนุญาต
พักใช้หรือเพิกถอน
10. ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
- ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา
จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า
30
ปีบริบูรณ์
–ไม่เกิน
65
ปี
11. ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
ประกอบด้วยใคร
ยกตัวอย่างประกอบ
- ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูประกอบด้วย
วิทยากร
ผู้สอนตามอัธยาศัย
ครูฝึกสอน
ผู้บริหารระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
ครูผู้บริหารระดับปริญญาทั้งรัฐและเอกชน
12. คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
มีอะไรบ้าง
- คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต้องอายุไม่ต่ำกว่า
20
ปีบริบูรณ์
มีวุฒิทางการศึกษา ผ่านการสอนในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า
1
ปี
และผ่านตามคุรุสภากำหนด
13. หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก
ไม่ต่อ
ใบอนุญาต
ต้องจัดกระทำอย่างไร
- หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก
ไม่ต่อ
ใบอนุญาต
ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการคุรุสภา
ภายใน
30 วัน
14. มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย
มาตรฐานอะไร
- มาตรฐานวิชาชีพประกอบด้วย
มาตรฐานความรู้และประสบการณ์
มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน
15. มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วยอะไร
- มาตรฐานการปฏิบัติตนประกอบด้วย
จรรยาบรรณต่อตนเอง
ต่ออาชีพ
ต่อผู้รับบริการ
ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ต่อสังคม
16. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย
มีหน้าที่
- คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัยมีหน้าที่
ยก
ตัก
ภาค
พัก
เพิก
คือ
ยกข้อกล่าวหา
ตักเตือน
ภาคทัณฑ์
พักใช้ใบอนุญาต
ไม่เกิน
5
ปี
เพิกถอนใบอนุญาต
17. สมาชิกคุรุสภามี
กี่ประเภทประกอบด้วย
- สมาชิกคุรุสภามี
2
ประเภท
คือ
สามัญและกิตติมศักดิ์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยมติเอกฉันท์
18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
- สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุด
5
วิธี
คือ
ตาย
ลาออก คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้นถอดถอนกิตติมศักดิ์ ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
19. สกสค.ย่อมาจาก
อะไร
- สกสค.ย่อมาจาก
คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
20. สกสค.มีกี่คน
ใครเป็นประธาน
- สกสค.มี
23
คน
ประธานคือ รมต.ศธ.
นิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร
- ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกจำคุกไม่เกิน
1
ปี
หรือ
ปรับไม่เกิน
20,000
บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
22. ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
- ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษจำคุกไม่เกิน
3
ปี
หรือ
ปรับไม่เกิน
60,000
บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พรบ.สภาครูฯ2546 คือใคร
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พรบ.สภาครูฯ2546 คือ พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร
24. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
เป็นอย่างไร
- ต่อ/แทน
รอง
นาญ
ขึ้น
= 200
, 300 , 400 , 500 บาท ตามลำดับ
หมายถึง
ค่าต่อใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาต
200
บาท
,
ใบรับรอง
300
บาท
,
แสดงความชำนาญการ
400
บาท
,
ขึ้นทะเบียนใหม่
500
บาท
ให้นักศึกษาศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย
1.นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพอย่างไร
- คำว่า
วิชาชีพ
มาจากคำสนธิ
คือ
วิชา
และ
อาชีพ
ถ้าสังเกตแล้วจะเห็นว่าวิชาชีพนั้นไม่ใช่อาชีพธรรมดา
แต่ประกอบด้วย
วิชา
ด้วย
ดังนั้นอาชีพทุกอาชีพไม่ได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพทั้งหมด
มีเพียงบางอาชีพเท่านั้นที่ได้รับเกียรติถือว่าเป็นวิชาชีพ
“วิชาชีพ” หมายถึง
งานที่ตนได้ปฏิญาณว่าจะอุทิศตัวทำไปตลอดชีวิต
เป็นงานที่ต้องได้รับการอบรมสั่งสอนมานาน
เป็นงานที่มีขนบธรรมเนียมและจรรยาของหมู่คณะโดยเฉพาะ
ได้รับค่าตอบแทนในลักษณะค่าธรรมเนียม
หรือ
ค่ายกครู
มิใช่ค่าจ้าง
2.วิชาชีพควบคุมท่านเข้าใจอย่างไร
- ควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชนโดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างเพียงพอ มีอิสระในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพ หรือองค์กรวิชาชีพ เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์จรรโลงวิชาชีพ
3.การประกอบวิชาชีพควบคุมมีข้อจำกัดอย่างไร
- การประกอบวิชาชีพควบคุม
ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม ต้องประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขของคุรุสภา ดังนี้
1. ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด ผู้ไม่ได้รับอนุญาต หรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
2. ต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
3. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีสิทธิกล่าวหา หรือกรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และบุคคลอื่น มีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
4. เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหากล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้
4.มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาหมายถึงอะไร
พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546
กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพกี่ด้านประกอบด้วยอะไรบ้าง
- ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพสามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม นั้นเนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพกำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ยกข้อกล่าวหา ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
5.ท่านเข้าใจมาตรฐานความรู้และประสบการณ์อย่างไร
สรุปและอธิบาย
- มาตรฐานความรู้มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้
1. ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
2. การพัฒนาหลักสูตร
3. การจัดการเรียนรู้
4. จิตวิทยาสำหรับครู
5. การวัดและประเมินผลการศึกษา
6. การบริหารจัดการในห้องเรียน
7. การวิจัยทางการศึกษา
8. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
9. ความเป็นครู
6.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
- มีความคล้ายกันเนื่องจากมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนการพัฒนาฝีมือแรงงานด้วยระบบการฝึกตามความสามารถเป็นรูปแบบการฝึกที่มีการวางแผนการฝึกระหว่างผู้รับการฝึกและผู้สอนโดยออกแบบการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่นตามความต้องการและความสามารถของผู้รับการฝึก สภาพการฝึกเน้นการปฏิบัติตามกิจกรรมหรืองานที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการ
มีการจัดสภาพแวดล้อมในการฝึกสอดคล้องกับการปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มีการวัดและประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ความสามารถตามเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานฝีมือแรงงานหรือมาตรฐานความสามารถและสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติงานของภาคอุตสาหกรรมและสถานประกอบกิจการ
การฝึก
จึงอยู่บนแนวคิดที่ว่า
ฝึกตามแผนของตน
พัฒนาคนตามความสามารถ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น