1.พระราชบัญญัติเงินเดือนเงินวิทยะฐานะและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้ง
2 ฉบับ ประกาศใช้เมื่อใด
- พระราชบัญญัติ
เงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ
2547 ให้ไว้
ณ
วันที่
21 ธันวาคม 2547
2. ตาม
พรบ.เงินเดือน
เงินวิทยฐานะ
และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ข้อใด ไม่ใช่เงินเดือน
- ตำแหน่งที่ไม่มีใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
ให้ใช้บัญชีของข้าราชการพลเรือนเงินวิทยฐานะ
และเงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน
3.คณะรัฐมนตรีสามารถออก
พระราชกฤษฎีกา
เงินเดือนฯในภาวะค่าครองชีพสูงได้ในอัตราเท่าไร
- กระทรวงศึกษาธิการเสนอว่าเนื่องจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นข้าราชการที่ได้รับสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่
5
มิถุนายน
2550
ในการที่จะได้ปรับอัตราเงินเดือนเป็นร้อยละเท่ากันทุกตำแหน่งในอัตราร้อยละ
4
ตั้งแต่วันที่
1
ตุลาคม
2550
ประกอบกับบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปัจจุบันไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้รายได้สุทธิของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาลดลง
สมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
โดยมีสาระสำคัญเป็นการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.
2549
เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละเท่ากันทุกอันดับในอัตราร้อยละ
4
หากอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาท
ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท
4.ได้รับการบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้รับเงินเดือนเท่าไร
และเมื่อได้รับครบกำหนดกี่ปีจึงจะได้รับการแต่ตั้งเป็นครู
คศ.1 และรับเงินเดือนเท่าไร
- เงินเดือนครูผู้ช่วย
ที่บรรจุด้วย
วุฒิปริญญาตรี
หลักสูตร
4
ปี
เมื่อบรรจุ จะได้รับเงินเดือน
7,940
บาท ถ้าผ่านการประเมิน
เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มแล้ว
2
ปี จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู
ได้รับเงินเดือนในอันดับ
คศ.
1
ขั้น
10,770
บาท ตามบัญชีแนบท้ายกฎ
ก.ค.ศ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำ
หรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ
พ.ศ.2553 แต่ต่อมาได้มีการปรับเงินเดือนใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2554
โดยมีผลบังคับใช้
ประกอบกับเงินเดือนขั้น
10,770
บาท
ไม่มีในบัญชีเงินเดือนชั่วคราวของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแนบท้ายหนังสือสำนักงาน
ก.ค.ศ. จึงมีมติให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ไปรับเงินเดือนในขั้น
10,770
บาทไป
และให้ใช้เงินเดือนในขั้น
11,000
บาท
เป็นฐานสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ตัวอย่างเช่น
นาย
ก.
บรรจุตำแหน่งครูผู้ช่วย เมื่อวันที่
2
เมษายน
2552
ได้รับเงินเดือนอันดับครูผู้ช่วย
ขั้น
7,940
บาท เมื่อผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มแล้ว
ในวันที่
2
เมษายน
2554 ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู
รับเงินเดือนในขั้น
10,770
บาท ต่อมาวันที่
1
ตุลาคม
2554
หากนาย
ก.ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน
จำนวน
0.5
ขั้น ก็ให้ใช้เงินเดือนในขั้น
11,000
บาทเป็นฐานสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้เลื่อนไปได้รับเงินเดือนในขั้น
11,310
บาท
เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น